หน้าที่ 1
บทคัดย่อ
ประวัติผู้วิจัย
กิตติกรรมประกาศ
บทนำ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ข้อเสนอแนะ
ข้อมูลเพิ่มเติม
My Guestbook
Link : ศูนย์ศึกษาลาว
Thai Abstract
English Abstract

              การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย ที่จะแสดงผลกระทบที่เกิดจากการถางป่า ต่อการเปลี่ยนแปลงของ ชุมชนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน ในลำธารต้นน้ำบริเวณถ้ำใหญ่ น้ำหนาว อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยการเก็บตัวอย่างสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน จำนวน 50 สถานี ตลอดระยะทางยาวประมาณ 1500 เมตร ระหว่าง เดือนเมษายน ถึง เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2539 สถานีที่ศึกษานี้ ครอบคลุมลำธารในพื้นที่ ที่แตกต่างกันถึง 3 บริเวณ คือ (i) บริเวณเขตอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีป่าไม้ที่สมบูรณ์ และได้รับการอนุรักษ์ อย่างดี (ii) บริเวณป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งมีการดัดแปลง พื้นที่สำหรับการเพาะปลูก แต่ยังคงมีป่าไม้ปกคลุมเป็นหย่อมๆ บางบริเวณ (iii) บริเวณที่มีการทำ เกษตรกรรม ซึ่งมีป่าไม้ปกคลุมน้อยมาก สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินถูกสุ่มเก้บ ในแต่ละสถานี ด้วย Surber sampler สถานี ละ 3 ซ้ำทำการตรวจวัดและวิเคราะห์ ตัวแปรด้านคุณภาพน้ำ และร้อยละของความหนาแน่น ป่าไม้ปกคลุมแต่ละสถานีเก็บตัวอย่าง วิเคราะห์ความแปรผันของชุมชน สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน ( ANOVA ) และวิเคราะห์ สหสัมพันธ์ ( Correlation )เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยกายภาพแต่ละตัวแปร และหา ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยคุณภาพสิ่งแวดล้อมกับ ข้อมูลชีวภาพ ใช้วิธีการทางสถิติเชิงซ้อน ( Multivariate ) เช่น การจัดกลุ่ม (Classification ) และ การเรียงลำดับสถานี ( Ordination ) ตามโปรแกรม PATN เพื่อตรวจหา แบบแผนความสัมพันธ์ ระหว่างสถานี และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
             ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ร้อยละของความหนาแน่นป่าไม้ปกคลุม มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับปัจจัย คุณภาพสิ่งแวดล้อมของลำธาร อันได้แก่ อุณหภูมิอากาศ อุณหภูมิน้ำ ค่าของแข็งละลายน้ำ ค่าการนำไฟฟ้าของน้ำ และองค์ประกอบของพื้นลำธาร สถานีที่ตั้งอยู่บริเวณที่มีป่าไม้ปกคลุมมาก จะมีอุณหภูมิอากาศและอุณหภูมิน้ำต่ำ ค่าของแข็งละลายน้ำ และค่าการนำไฟฟ้าของน้ำสูง และมีองค์ประกอบของพื้นลำธาร ประเภทหินและกรวดมาก ในทางตรงกันข้าม สถานีที่ตั้งอยู่ใน บริเวณที่มีการถางป่า อุณหภูมิอากาศและ อุณหภูมิน้ำจะสูงกว่า แต่ค่าของแข็งละลายน้ำ และค่าการนำไฟฟ้าของน้ำลดต่ำลง และองค์ประกอบของพื้นลำธารบริเวณนี้แตกต่าง จากพื้นลำธารในบริเวณที่มีป่าไม้ปกคลุม โดยพบว่า องค์ประกอบของพื้นลำธาร ประกอบด้วย ทราย ตะกอนละเอียด เศษใบไม้ และกิ่งไม้ โครงสร้างชุมชนของ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินแปรเปลี่ยน ไปตลอดความยาวของลำธาร สถานีที่ตั้ง อยู่ในเขตป่าไม้หนาแน่น มีจำนวนชนิด และความหนาแน่นของสัตว์ มากกว่า สถานีในบริเวณที่มีการถางป่าอย่างเห็นได้ชัดเจน

( หน้า 1 2 ) หน้าต่อไป >>>

[ Home ][บทคัดย่อ ] [ ประวัติผู้วิจัย ] [ กิตติกรรมประกาศ ] [ บทนำ ] [ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ] [ ข้อเสนอแนะ ] [ ข้อมูลเพิ่มเติม ] [ My Guestbook ]