หน้าที่ 2
บทคัดย่อ
ประวัติผู้วิจัย
กิตติกรรมประกาศ
บทนำ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ข้อเสนอแนะ
ข้อมูลเพิ่มเติม
My Guestbook
Link : ศูนย์ศึกษาลาว
Thai Abstract
English Abstract

              ในระหว่างกลุ่มของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน แมลงหนอนปลอกน้ำ (อันดับ Trichoptera) แมลงสองปีก ( อันดับ Diptera) ด้วงน้ำ (อันดับ Coleoptera) และแมลงชีปะขาว (อันดับ Ephemeroptera) มีจำนวนชนิดและความหนาแน่นที่แสดงให้เห็น ความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ กับ ร้อยละของความหนาแน่นป่าไม้ปกคลุม และตัวแปรด้านสิ่งแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไป หรือกล่าวได้ว่าชุมชนสัตว์ทั้ง สี่กลุ่มนี้ มีความหลากหลายมากกว่า ในบริเวณที่ยังคงเป็นป่าไม้อยู่ ในขณะที่หอยฝาเดียว ไม่แสดงความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ กับปัจจัยสิ่งแวดล้อมใดๆเลย
              ความผันแปรของป่าไม้ปกคลุม ตลอดความยาวของลำธาร มีผลกระทบอย่างมากต่อกลุ่ม สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน ที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของ สิ่งแวดล้อม สัตว์กลุ่มนี้ คือ แมลงชีปะขาว แมลงสโตนฟลาย (อันดับ Plecoptera ) และแมลงหนอนปลอกน้ำ หรือที่เรียกว่ากลุ่ม EPT แมลงกลุ่มนี้มีมากในลำธารที่มีป่าไม้ ปกคลุมหนาแน่น แต่มีน้อยมาก ในลำธารบริเวณเขตพื้นที่การเกษตร จำนวนชนิดและความหนาแน่น ที่เพิ่มมากขึ้นของสัตว์กลุ่มนี้ สัมพันธ์เป็นอย่างดี กับร้อยละของป่าไม้ ปกคลุมที่เพิ่มสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงชั้นเรือนยอดของป่าไม้ปกคลุม ได้ส่งผลกระทบโดยตรง ต่อสิ่งแวดล้อมระหว่างสถานี รวมทั้งองค์ประกอบของ พื้นลำธาร อุณหภูมิน้ำ อุณหภูมิอากาศ ค่าของแข็งละลายน้ำ และค่าการนำไฟฟ้าของน้ำ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยทั้งหมดนี้ มีความสัมพันธ์อย่างเด่นชัด กับการกระจาย ของสัตว์ในกลุ่ม EPT ส่วนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง อีกกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวอ่อนริ้นน้ำจืด (หนอนแดง) มีความหนาแน่น ไม่แตกต่างกันมากนัก ระหว่างลำธาร แต่ละบริเวณเนื่องจาก หนอนแดง มีความทนทานสูงต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม
          กล่าวโดยสรุปว่า การถางป่าริมฝั่งลำธาร มีผลต่อโครงสร้างชุมชน สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน ในแหล่งน้ำจืด โดยทำให้ความหลากหลายของชุมชนสัตว์ในบริเวณนั้น ลดน้อยลง ความผันแปรของชั้นเรือนยอด ของป่าไม้ ที่ปกคลุมลำธาร ส่งผลกระทบอย่างเป็นลำดับขั้นต่อ ตัวแปรของสิ่ง แวดล้อม และที่อยู่อาศัยของสัตว์ ในสถานีนั้นๆซึ่งปัจจัยเหล่านี้ มีอิทธิพลต่อการดำรงอยู่ของ ชนิดสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินในบริเวณดังกล่าว

<<<กลับไปหน้าที่ผ่านมา( หน้า 1 2 )

[ Home ][บทคัดย่อ ] [ ประวัติผู้วิจัย ] [ กิตติกรรมประกาศ ] [ บทนำ ] [ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ] [ ข้อเสนอแนะ ] [ ข้อมูลเพิ่มเติม ] [ My Guestbook ]