หน้าที่ 1
บทคัดย่อ
ประวัติผู้วิจัย
กิตติกรรมประกาศ
บทนำ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ข้อเสนอแนะ
ข้อมูลเพิ่มเติม
My Guestbook
Link : ศูนย์ศึกษาลาว
              ผลการศึกษาครั้งนี้ได้ชี้ให้เห็นถึง ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการถางป่า ริมฝั่งลำธารต่อโครงสร้างชุมชนของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน ลำธารบริเวณใด หรือสถานีใด ที่มีป่าไม้ หรือพืชริมฝั่งปกคลุมมาก พบว่า บริเวณดังกล่าว มีจำนวนชนิดและความหนาแน่น ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง หน้าดินมาก ดังตัวอย่างเช่น สถานีที่ 25 ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเกษตรกรรม แต่เป็นบริเวณที่มี ป่าไม้ปกคลุมมาก เนื่องจากเป็นบริเวณที่ชาวบ้าน นำน้ำไปใช้บริโภค จึงไม่การถางป่าบริเวณนี้สถานีนี้จึงยังคงมี ชนิดและจำนวนของ สัตว์มาก เช่นเดียวกับกลุ่มสถานีของ เขตอุทยานฯ และป่าสงวนแห่งชาติ ตรงกันข้ามกับ สถานี ที่ 14 แม้จะตั้งอยู่ในบริเวณป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งสภาพโดยรวม มีป่าไม้ปกคลุมมากกว่า ร้อยละ 50 แต่สถานีนี้กลับโล่งแจ้ง เนื่องจากมีการถางป่าเพื่อปลูกพืช จำนวนชนิดและ ความหนาแน่นของสัตว์ไม่กระดูกสันหลังหน้าดิน ที่พบในสถานีนี้ จึงน้อยกว่า สถานีอื่นๆ ในบริเวณป่าสงวนแห่งชาติด้วยกัน โดยมีผลใกล้เคียงกับกลุ่มสถานีในเขต เกษตรกรรม

              จากผลการศึกษาครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะดังนี้ คือ
             1. เพื่อปกป้องและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของ ระบบนิเวศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณต้นน้ำ ลำธาร เมื่อมีกิจกรรมใช้ที่ดิน ไม่ควรบุกเบิกที่ดินไปจน จรดกับริมฝั่งลำธาร ควรรักษาป่าไม้ หรือต้นไม้ริมฝั่งลำธารไว้ รวมทั้งรักษาระยะของพืชก่อนจะถึงแนวลำธารเพื่อ (i) เป็นแนวกันชน ( Buffer zone) ไว้ป้องกันการถูกชะล้าง ของดินลงสู่ลำธารเบื้องล่าง เพราะจะทำให้ตะกอนดิน ในลำธารเพิ่มมากขึ้น ลำธารกว้างขึ้นและตื้นเขิน ซึ่งจะส่งผลกระทบถึงชุมชนสัตว์ที่อาศัยอยู่ในลำธาร ทั้งแหล่งที่อยู่อาศัย และแหล่งอาหารของสัตว์ต่างๆ และเพื่อ (ii) ให้พืชเหล่านี้ช่วยกันกักเก็บปุ๋ย หรือ สารเคมีที่ใช้ในการเกษตร ไม่ให้เพิ่มแร่ธาตุลงสู่แหล่งน้ำ
             2. การปลูกพืชของเกษตรกรในบริเวณพื้นที่ใกล้ต้นน้ำลำธาร ควรปลูกพืชประเภทไม้ยืนต้น เช่น การทำสวนผลไม้ดีกว่า การปลูกพืชไร่ซึ่งใช้ระยะเวลา สั้นๆ เช่น ผัก ข้าวโพด และพริก เพราะหลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว เกษตรกรต้องไถพรวนดินไว้ปลูกรอบต่อไป กิจกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดการพังทลาย และการชะล้างเอาตะกอนดินไปสะสมในพื้นที่ลำธารมากขึ้น
( หน้า 1 2 ) หน้าต่อไป >>>

[ Home ][บทคัดย่อ ] [ ประวัติผู้วิจัย ] [ กิตติกรรมประกาศ ] [ บทนำ ] [ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ] [ ข้อเสนอแนะ ] [ ข้อมูลเพิ่มเติม ] [ My Guestbook ]