หน้าที่ 2
บทคัดย่อ
ประวัติผู้วิจัย
กิตติกรรมประกาศ
บทนำ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ข้อเสนอแนะ
ข้อมูลเพิ่มเติม
My Guestbook
Link : ศูนย์ศึกษาลาว
              แม้ว่า การศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ไม่กระดูกสันหลังหน้าดิน จะแพร่หลายและมีประโยชน์มากในต่างประเทศ ดังกล่าวมาข้างต้น แต่การศึกษาในประเทศไทยมีน้อยมาก และยังไม่ปรากฏรายงานการ ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบการถางป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณป่า ต้นน้ำลำธาร ต่อโครงสร้างชุมชนสัตว์ ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน ในแหล่งน้ำของประเทศไทย ( Sangpradub และคณะ 1996 ) การศึกษาครั้งนี้จะทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบของ การถางป่า ต่อชุมชนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง หน้าดินที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณลำธารต้นน้ำ และอาจเป็นแบบจำลอง สำหรับการศึกษาในภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงได้

   1.1 การวางแผนการศึกษา
              สำรวจพื้นที่ที่จะทำการศึกษา และแบ่งลำธารที่ศึกษาออกเป็น 3 บริเวณ ตามความหนาแน่น ของป่าไม้ปกคลุมคือ (i) ลำธารบริเวณเขตอุทยานแห่งชาติ (ii) ลำธารบริเวณเขตป่าสงวนแห่งชาติ และ (iii) ลำธารบริเวณพื้นที่การเกษตร
             เก็บตัวอย่างสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินแบบสุ่ม (random) จำนวนทั้งสิ้น 50 สถานี สถานีละ 3 ซ้ำ ในช่วงฤดูร้อน ระหว่างปลายเดือน เมษายน ถึงต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2539 และทำการตรวจวัด คุณภาพสิ่งแวดล้อม ทางกายภาพของทุกสถานี

   1.2 วัตถุประสงค์
             1. เพื่อเปรียบเทียบโครงสร้างชุมชนสัตว์ และความหลากหลาย ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน ระหว่างลำธารบริเวณที่ปกคลุมด้วยป่าไม้ กับลำธารบริเวณที่ถูกถางป่า ริมฝั่งลำธารเพื่อทำการเกษตร
             2. ศึกษาถึงความสัมพันธ์ ระหว่างชุมชนสัตว์ ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน กับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อการดำรงอยู่ และโครงสร้างชุมชนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน

<<< หน้าที่แล้ว( หน้า 1 2 )

[ Home ][บทคัดย่อ ] [ ประวัติผู้วิจัย ] [ กิตติกรรมประกาศ ] [ บทนำ ] [ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ] [ ข้อเสนอแนะ ] [ ข้อมูลเพิ่มเติม ] [ My Guestbook ]