หน้าที่ 1
บทคัดย่อ
ประวัติผู้วิจัย
กิตติกรรมประกาศ
บทนำ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ข้อเสนอแนะ
ข้อมูลเพิ่มเติม
My Guestbook
Link : ศูนย์ศึกษาลาว
              ลำธารต้นน้ำเป็นที่รวบรวมปริมาณน้ำจากแหล่งรองรับน้ำฝน ซึ่งปกติแล้ว บริเวณต้นน้ำ ลำธารจะมีป่าไม้ปกคลุมอยู่อย่างหนาแน่น ทำให้พื้นดินมีการดูดซับน้ำไว้ได้ เป็นปริมาณมาก ส่งผลให้ ลำธารสามารถมีน้ำตลอดทั้งปี แหลล่งรองรับน้ำฝน ประกอบด้วยลำธารขนาดเล็กหลายสาย ไหลมารวมกันเป็นลำธาร ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และกลายเป็นแม่น้ำในที่สุด
              ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาทางด้านเศราฐกิจ สังคม การเกษตร และอุตสาหกรรม ทำให้พื้นที่ป่าต้นน้ำ และป่าหลายแห่งถูกรุกล้ำทำลาย ในหลายประเทศทั่วโลก (กระทรวงการต่างประเทศ 2537) วิทย์ และคณะ (2538) รายงานว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ และสังคมในปัจจุบัน เป็นผลมาจากปัจจัยการเพิ่มขึ้นของประชากร ค่านิยม วัฒนธรรม และ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดิน ที่ไม่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ กล่าวคือ ได้มีการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ โดยเฉพาะพื้นที่ป่าลุ่มน้เชั้น 1 ซึ่งเป็นพื้นที่เปราะบาง ต่อการเกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
              การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ การตัดไม้ทำลายป่า ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อพื้นที่ลุ่มน้ำ ทำให้เกิดภาวะเสื่อมโทรมแก่แม่น้ำลำธารตลอดถึง สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่หลายประการ เช่น การตัดไม้ในบริเวณ ลำธารทำให้เกิดช่องโหว่ในชั้นเรือนยอด ( canopy ) หรือกลายเป็นลำธารโล่งแจ้ง ไม่มีร่มเงาปกคลุม ทำให้แสงสามารถส่องลงถึงพื้นลำธารได้มากขึ้น Campbell และคณะ ( 1989 ) อ้างตาม Newbold และคณะ( 1980 ) พบว่า ปริมาณชั้นเรือนยอดของป่าไมเที่ปกคลุมลำธารของรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา บริเวณเขตรองรับน้ำฝนที่ไม่มีการตัดไม้ มีประมาณร้อยละ 80 ขณะที่ในเขตที่มีการตัดไม้จะมีร้อยละประมาณ 20 ความเข้มของแสงที่สามารถส่องผ่าน ชั้นเรือนยอดของป่าลงสู่ผิวของ ลำธารมีความแปรปรวนตั้งแต่ร้อยละ 20-100 เมื่อแสงสามารถส่องลงสู่ลำธารมากขึ้น ทำให้แหล่งสะสมพลังงานในน้ำ เปลี่ยนแปลงไปจากพลังงานที่สะสมในซากเศษใบไม้ (allochthonous) เป็นพลังงานที่ได้จากการสังเคราะห์แสง (autothonous) (Benfield และคณะ 1991 ) เช่นเดียวกับระดับการสังเคราะห์แสง (Photosynthetically active radiation PAR ) ในลำธารที่ไม่มีร่มเงา หรือลำธารเปิด มีมากกว่าในลำธารที่มีร่มเงาปกคลุม ( Denicola และคณะ 1992 ) เมื่อชั้นเรือนยอดของป่าไม้ถูกทำลาย ยังทำให้เกิดผลกระทบทางนิเวศวิทยาอย่างมากต่อลำธารขนาดเล็ก เช่น การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำในลำธาร ที่อยู่ใต้ร่มเงาของป่าไม้ ปกติอุณหภูมิในฤร้อนจะต่ำและ จะสูงในฤดูหนาว และมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ในแต่ละวันไม่มาก เมื่อเทียบกับอุณหภูมิน้ำในลำธาร ที่ไม่มีร่มเงา (Campbellและคณะ 1989 อ้างตาม Eschner และคณะ 1963. Grag และคณะ 1969, Likens และคณะ 1970ม ฺพห 1972, Graynoth 1979, Webster และคณะ 1982 และClup และคณะ 1983 ) อุณหภูมิในลำธารและริมฝั่งจะไม่เปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนแปลงน้อย ถ้ามีการรักษาป่าที่เป็น แนวกันชนไว้ (Campbell และคณะ 1989 อ้างตาม Brown และคณะ 1970, Brown 1971)

( หน้า 1 2 3 4 5 ) หน้าต่อไป >>>

[ Home ][บทคัดย่อ ] [ ประวัติผู้วิจัย ] [ กิตติกรรมประกาศ ] [ บทนำ ] [ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ] [ ข้อเสนอแนะ ] [ ข้อมูลเพิ่มเติม ] [ My Guestbook ]