หน้าที่ 2
บทคัดย่อ
ประวัติผู้วิจัย
กิตติกรรมประกาศ
บทนำ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ข้อเสนอแนะ
ข้อมูลเพิ่มเติม
My Guestbook
Link : ศูนย์ศึกษาลาว
              การถางป่าทำให้คุณสมบัติของลำธารและน้ำเปลี่ยนแปลงไป เช่น การตัดไม้จะทำให้เศษกิ่งไม้ เศษใบไม้ ตะกอนดิน และแร่ธาตุต่างๆ ลงไปสะสมในพื้นลำธาร มากขึ้น เนื่องจากถูกชะล้าง ผลที่เกิดขึ้นคือ ลักษณะของพื้นลำธาร มีการเปลี่ยนแปลงสูญเสียความมั่นคง เป็นการรบกวนและการทำลายที่อยู่อาศัย และแหล่งอาหารของสัตว์ไม่มี กระดูกสันหลังหน้าดิน เกิดตะกอนแขวนลอย ส่งผลให้ลำธารขุ่นและเต็มไปด้วย ตะกอนขนาดเล็ก อันเป็นผลกระทบต่อการดำรงชีพของ สิ่งมีชีวิตในน้ำ ( Benfield และคณะ 1991, Campbell และคณะ 1989 อ้างตาม Gommon 1970, Nuttal และคณะ 1973, Murphy และคณะ 1981, Mayack และคณะ 1983, Widerholm 1984, Stout และคณะ 1989, Benfield และคณะ 1991, Richards และคณะ 1993 และ Fore และคณะ 1996) การตัดไม้และการสร้างถนนตัดผ่านลำธาร มีความสัมพันธ์เชิงบวก กับจำนวนตะกอนขนาดเล็กที่ ทับถมที่อยู่อาศัยของสัตว์ในลำธาร (Eaglin และคณะ 1993) เช่นเดียวกับการศึกษาผลกระทบ ของการขนส่งท่อนซุงลงมาตามลำธาร ทำให้ลำธารลึกมากขึ้น ความเร็วของกระแสน้ำลดลง พื้นลำธารที่เป็นก้อนหินขนาดเล็ก (cobble) ถุกปกคลุมด้วยทรายและโคลน ตะกอนหยาบและตะกอนละเอียด มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย (Wallace และคณะ 1995)
              การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดข้างต้น ล้วนส่งผลกระทบต่อโครงสร้างชุมชนของ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินในลำธาร Growns และคณะ (1994) ได้รายงานถึง ผลกระทบจากการตัดไม้ ในบริเวณลำธารทางตอนใต้ของประเทศออสเตรเลีย พบว่าในลำธารตอนบน (upland stream) ซึ่งอยู่ ในบริเวณที่มีการตัดไม้ มีค่าเฉลี่ยความอุดมสมบูรณ์ของชนิด (mean species richness) และค่าเฉลี่ยจำนวนสัตว์ทั้งหมด (mean total abundance) ลดลง เมื่อเทียบกับจำนวนชนิดและ จำนวนสัตว์ในลำธารบริเวณที่ไม่มีการตัดไม้ Wallace และคณะ (1995) รายงานในลักษณะเดียวกันว่า เมื่อที่อยู่อาศัยของสัตว์ถูกทำลาย ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ และมวลชีวภาพของสัตว์แทะเล็ม (ขูดกิน) สาหร่ายหรือไดอะตอม (scrapers) และสัตว์ที่กินอาหาร โดยการกรอง (filterers) ลดลง ขณะที่สัตว์ซึ่งเก็บกินซากที่มีขนาดเล็กกว่า 1 มิลลิเมตร (collectors) และตัวห้ำ (predators) เพิ่มขึ้น ส่วนสัตว์ที่กินซากพืชที่มีขนาดใหญ่กว่า 1 มิลลิเมตร (shredders) ไม่เปลี่ยนแปลง แต่มวลชีวภาพของแมลงหนอนปลอกน้ำ และแมลงสองปีก ที่เป็นพวกกินซากพืชที่มีขนาดใหญ่กว่า 1 มิลลิเมตร มีจำนวนเพิ่มขึ้น ขณะที่ แมลงสโตนฟลาย พวกที่เป็นตัวห้ำนั้นจำนวนลดลง แม้ว่าจะมีเหยื่อเป็นจำนวนมากก็ตาม ร่มเงาพืชริมฝั่งและป่าไม้ปกคลุม มีความสัมพันธ์กับความอุดมสมบูรณ์ และโครงสร้างของชุมชน สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินในลำธาร Rutt และคณะ (1989) รายงานว่า สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินทั่วไป มีความสัมพันธ์กับ พืชขนาดเล็กตามฝั่งลำธารและร่มเงาของ พืชริมฝั่งมากกว่าบริเวณน้ำไหลแรง (riffle) Dudgeon (1994) ได้ทำการศึกษาผลกระทบ ของพืชริมฝั่งลำธารต่อโครงสร้าง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินบนเกาะฮ่องกง และได้รายงานว่าไม่พบสัตว์กลุ่มหลัก เช่น แมลงสโตนฟลาย แมลงชีปะขาววงศ์ Heptageniidae และวงศ์ Ephemeridae ด้วงน้ำวงศ์ Psephenidae และแมลง อันดับ Megaloptera ในลำธารที่ไม่มีร่มเงา แต่กลับพบสัตว์เด่นบางจำพวกเช่น แมลงชีปะขาวเข็ม วงศ์ Baetidae แมลงสองปีกพวกหนอนแดง tribe Orthocladinae ด้วงน้ำวงศ์ Elmidae และแมลงหนอนปลอกน้ำชนิด Hydropsyche Davies และคณะ (1994) ได้ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง ความกว้างของเขตพืชแนวริมฝั่ง ที่เป็นแนวกันชน และผลกระทบของการตัดไม้ต่อที่อยู่อาศัยของ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน และปลาในลำธารที่เกาะทัสมาเนีย ประเทศออสเตรเลีย พบว่า การตัดไม้และพืชริมฝั่งในระยะตั้งแต่ 0-50 เมตร ห่างจากลำธารมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของตะกอน ในบริเวณน้ำไหลแรงตลอดสาย ทำให้จำนวนของ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินในบริเวณดังกล่าว ลดลง โดยเฉพาะแมลงสโตนฟลาย และแมลงชีปะขาววงศ์ Leptophlebiidae ซึ่งผลกระทบ ทั้งหมดนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดความกว้าง ของการตัดไม้ในแนวกันชน และความลาดเอียง มีผลต่อการพังทลายของ ดินหรือระยะเวลาที่มีการทำลาย Dudgeon และคณะ (1994) ได้ศึกษาและยืนยัน ว่า ร่มเงาของป่าไม้ และพืชริมฝั่งที่ปกคลุมลำธาร มีอิทธิพลต่อโครงสร้างชุมชน สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินในลำธาร โดยเปรียบเทียบลำธารสี่สายซึ่งมีลักษณะคล้ายกัน แต่มีความแตกต่างกันในแง่ของ ปริมาณป่าไม้และพืชริมฝั่ง........
             
( หน้า 1 2 3 4 5 ) หน้าต่อไป >>>

[ Home ] [บทคัดย่อ ] [ ประวัติผู้วิจัย ] [ กิตติกรรมประกาศ ] [ บทนำ ] [ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ] [ ข้อเสนอแนะ ] [ ข้อมูลเพิ่มเติม ] [ My Guestbook ]