หน้าที่ 3
บทคัดย่อ
ประวัติผู้วิจัย
กิตติกรรมประกาศ
บทนำ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ข้อเสนอแนะ
ข้อมูลเพิ่มเติม
My Guestbook
Link : ศูนย์ศึกษาลาว
.......... คือ ลำธารสายแรกปกคลุมด้วยป่าไม้ตลอดสาย ลำธารสายที่สอง มีป่าอยู่รอบแต่ไม่ปกคลุมลำธาร ลำธารสายที่ 3 ริมฝั่งปกคลุมด้วยไม้พุ่ม หญ้าสูง และมีต้นไม้เพียงเล็กน้อย ลำธารสายที่ 4 ไม่มีป่าปกคลุม ริมฝั่งปกคลุมด้วยหญ้าเตี้ยๆ ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มสัตว์ที่เก็บกินซาก ที่มีขนาดเล็กกว่า 1 มิลลิเมตร และพวกสัตว์ที่กินอาหาร โดยการกรองในลำธาร ทุกสาย พบสัตว์ที่เป็นตัวห้ำในลำธาร สายที่ 2 และ 3 มากกว่า ลำธารสายที่ 1 และ 4 ตามลำดับ พวกสัตว์แทะเล็มสาหร่าย และไดอะตอมพบมาก ในลำธารสายที่ 3 และ4 ส่วนพวกสัตว์ที่ กินซากพืชขนาดใหญ่กว่า 1 มิลลิเมตร พบมากในลำธารสายที่ 1 และ 2
              การใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อโครงสร้าง ชุมชนของ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ในลำธาร Macfarlane (1983) รายงานว่า อิทธิพลจากการสะสมตะกอนใน บริเวณพื้นที่ การเกษตร ทำให้เกิดความไม่มั่นคง ทางด้านกายภาพของที่อยู่อาศัยได้ และพบว่า ลำธารตอนบน ที่มีป่าไม้ปกคลุมนั้น โครงสร้างชุมชนของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง หน้าดินที่พบมาก คือกลุ่ม สัตว์ที่กินซากพืช ที่มีขนาดใหญ่กว่า 1 มิลลิเมตร และกลุ่มสัตว์ที่เก็บกินซากพืชที่ มีขนาดเล็กกว่า 1 มิลลิเมตร ตามลำธารตอนกลางและตอนท้าย มีพวกสัตว์ที่เก็บกินซากพืชที่มีขนาด เล็กกว่า 1 มิลลิเมตร เป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญ ซึ่งพบมากในบริเวณที่มีการพังทลายของดิน ปัจจัยสิ่งแวดล้อมหลักที่ ส่งผลกระทบต่อ โครงสร้างชุมชนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง หน้าดิน ในลำธารต้นน้ำ บริเวณพื้นที่การเกษตร คือการสะสมตะกอนดิน โคลน และทรายเป็นปริมาณมากในแหล่งน้ำ โครงสร้างชุมชนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน มีการเปลี่ยนแปลงอันดับแรก คือ สัดส่วนของแมลงสโตนฟลาย และแมลงชีปะขาว ในพื้นที่ทำการเกษตร มีน้อยกว่าบริเวณอื่นๆ (Richards และคณะ 1993) Lenat และคณะ (1994) พบว่า ความอุดมสมบูรณ์ของ สัตว์ (taxa richness) โดยเฉพาะกลุ่มสัตว์ที่มีความไวสูง ต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ได้ลดลงในลำธารบริเสณพื้นที่เกษตรกรรม ในขณะที่ taxa ของกลุ่มสัตว์ที่มีความทนทานสูง มีมากขึ้น ลำธารที่อยู่ในเขตชุมชน พบว่า ทั้งชนิดและ จำนวนของสัตว์มีน้อยมาก นอกจากนี้ ลำธารในเขตป่าไม้ พบว่า มีแมลงชีปะขาวเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินกลุ่มเด่น ซึ่ง สัตว์กลุ่มเด่นนี้ มีน้อยมาก ในลำธารเขตเกษตรกรรม ส่วนสัตว์ที่เป็นกลุ่มเด่น ในลำธารเขตเกษตรกรรม คือ หนอนแดง และสัตว์ที่เป็นกลุ่มเด่น ในลำธารเขตชุมชน คือ ไส้เดือนน้ำจืด (Oligochaete) ผลการศึกษานี้บ่งชี้ได้ว่า โครงสร้างชุมชนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน สามารถ บอกถึงความแตกต่างของคุณภาพน้ำ และคุณภาพแหล่งที่อยู่อาศัย ของสัตว์ในแต่ละสถานที่ได้ การสร้างระบบระบายน้ำในป่า สำหรับเป็นแนวกันชน เพื่อป้องกันการสูญเสีย ความหลากหลายทางชีวภาพ ได้กลายเป็นการทำลายที่อยู่อาศัยของสัตว์ โดยระบบดังกล่าวได้นำเอาตะกอนและสารอินทรีย์มาทับถม มอสชนิด Fontinalis dalecarlica ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน จำนวนมาก .........
( หน้า 1 2 3 4 5 ) หน้าต่อไป >>>

[ Home ] [บทคัดย่อ ] [ ประวัติผู้วิจัย ] [ กิตติกรรมประกาศ ] [ บทนำ ] [ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ] [ ข้อเสนอแนะ ] [ ข้อมูลเพิ่มเติม ] [ My Guestbook ]