หน้าที่ 4
บทคัดย่อ
ประวัติผู้วิจัย
กิตติกรรมประกาศ
บทนำ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ข้อเสนอแนะ
ข้อมูลเพิ่มเติม
My Guestbook
Link : ศูนย์ศึกษาลาว
..........ทำให้จำนวนชนิดของสัตว์ ที่อาศัยอยู่กับมอส ที่ถูกทับถมด้วยตะกอนนั้น ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับมอส ที่ไม่ถูกตะกอนทับถม ซึ่งยังพบแมลงสโตนฟลาย ที่เป็นกลุ่มสัตว์ที่กินซากพืชที่มีขนาดใหญ่กว่า 1 มิลลิเมตร และพบริ้นดำ Similium sp. เป็นจำนวนมาก ในบริเวณน้ำไหลแรง ในเขตที่มีมอสถูกตะกอนทับถม (Vuori และคณะ 1996)
              การเพิ่มขึ้นของตะกอนและสิ่งแขวนลอย ในลำธาร นอกจากมีผล ต่อที่อยู่อาศัยของสัตว์แล้ว ยังมีผลต่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน ที่กินอาหารโดยการกรอง โดยตะกอน จะไปอุดตันตาข่าย และกลไกการกรองอาหาร ของสัตว์ (Campbell และ คณะ 1989 อ้างตาม Gommon 1970,Nuttall และคณะ 1973, Mayack และคณะ 1983 ) การเพิ่มขึ้นของตะกอน และสิ่งแขวนลอยต่างๆ ทำให้น้ำขุ่นอันเป็นสาเหตุ ทำให้สัตว์แสดงพฤติกรรมหลุดลอย ไปตามกระแสน้ำ (drift) เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการสนองตอบอันดับแรก ของสัตว์เมื่อเริ่มมีสภาวะกดดันเกิดขึ้น (Campbell และคณะ 1989 อ้างตาม Widerholm 1984) นอกจากนี้ สัตว์บางชนิด จะมีอัตราการว่ายอยู่บน ผิวน้ำมากขึ้น เมื่อระดับความขุ่นของน้ำเพิ่มขึ้น (Campbell และคณะ 1989 อ้างตาม Richardson 1985)
             ลักษณะและองค์ประกอบของพื้นลำธาร เป็ฯอีกปัจจัยหนึ่ง ที่มีผลต่อความหนาแน่น และการกระจายของสัตว์ Brussock และคณะ (1991) รายงานว่า พื้นลำธาร เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการ กระจายของสัตว์ตามที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะพื้นลำธารที่เป็นก้อนกรวด และยังพบการกระจายของสัตว์ ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน อย่างไม่สม่ำเสมอ ตามความยาวของลำธารนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นลำธาร เช่น พบพวกสัตว์ที่กินซากพืช ที่มีขนาดใหญ่กว่า 1 มิลลิเมตร มาก ในบริเวณ ลำธารต้นน้ำ ระหว่างฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาวเนื่องจาก พื้นลำธารปกคลุมไปด้วย เศษซากใบไม้ ลักษณะของลำธารที่แตกต่างกัน ทำให้สัตว์มีการกระจายต่างกัน ปกติ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน จะกระจายอยู่ในลำธารลึกตั้งแต่ 0.1-04 เมตร ความเร็วของกระแสน้ำอยู่ระหว่าง 0.2-1.2 เมตรต่อวินาที องค์ประกอบของพื้นลำธาร ประเภทหินต่างๆ ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 60-100 มิลลิเมตร (Stark 1993) ความแตกต่าง ทางด้านกายภาพอย่างต่อเนื่อง ตลอดความยาวของลำธาร เช่น ความเร็วของกระแสน้ำ ขนาดขององค์ประกอบที่พื้นลำธาร อุณหภูมิ และปริมาณของออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ล้วนแต่มีอิทธิพล ต่อการกระจายของสิ่งมีชีวิตในลำธารนั้นๆ (Dudgeon และคณะ 1994)
( หน้า 1 2 3 4 5 ) หน้าต่อไป >>>

[ Home ] [บทคัดย่อ ] [ ประวัติผู้วิจัย ] [ กิตติกรรมประกาศ ] [ บทนำ ] [ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ] [ ข้อเสนอแนะ ] [ ข้อมูลเพิ่มเติม ] [ My Guestbook ]