หน้าที่ 5
บทคัดย่อ
ประวัติผู้วิจัย
กิตติกรรมประกาศ
บทนำ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ข้อเสนอแนะ
ข้อมูลเพิ่มเติม
My Guestbook
Link : ศูนย์ศึกษาลาว
              พืชน้ำและตอไม้ใต้น้ำ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหาร ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการ กระจายของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน O'Conner (1992) รายงานว่า มีสัตว์อาศัยอยู่ในบริเวณที่ มีพืชและตอไม้ใต้น้ำ ประมาณร้อยละ 25 ของความหนาแน่นของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินทั้งหมดที่พบ และพบว่าอีกร้อยละ 30 ของมวลชีวภาพต่อ 1 ตารางเมตรนั้น เป็นมวลชีวภาพของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน Rhodes และคณะ (1991) พบว่า สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินที่อาศัยอยู่บนพืช ซึ่งถูกตัดและจมอยู่ใต้น้ำ ในบริเวณน้ำไหลแรง และในบริเวณที่เป็นแอ่ง มีความหนาแน่นของสัตว์ใกล้เคียงกัน แต่ระหว่างสองบริเวณ จะมีความหนาแน่นของสัตว์ แตกต่างกันตามฤดูกาล
              ระดับความสูงจากน้ำทะเล ก็มีผลต่อการกระจายของชุมชนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน ในลำธารเช่นกัน Suren (1994) รายงานว่า ความหลากหลายของสัตว์อันดับต่างๆ ลดลง ตามการเพิ่มขึ้นของระดับความสูงจากน้ำทะเล แต่แมลงชีปะขาววงศ์ Baetidae พบมากกว่าสัตว์ชนิดออื่นๆ และไม่แตกต่างกันมากนัก ในทุกระดับความสูง ตั้งแต่ 850-4250 เมตร
              ผลการศึกษาจากต่างประเทศข้างต้น สอดคล้องกับผลการศึกษาในประเทศไทย โดยเฉพาะจากการศึกษาในลุ่มน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น พบว่า ปัจจัยที่มีผล ต่อชนิดและจำนวนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน ได้แก่ อุณหภูมิน้ำ ปริมาณของแข็งละลายน้ำ ความเป็นกรด-ด่างของน้ำ ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ความเร็วกระแสน้ำ ความลึก ความขุ่นของน้ำ ประเภทขององค์ประกอบของพื้นลำธาร ความมากน้อยของต้นไม้ริมตลิ่ง สิ่งก่อสร้างกั้นแม่น้ำ ชุมชนเมือง และโรงงานอุตสาหกรรม โดยบริเวณต้นน้ำ มีชนิดและความหนาแน่น ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน มาก กว่าบริเวณปลายน้ำ ซึ่งเป็นบริเวณที่ได้รับผลกระทบจาก สิ่งแวดล้อมมากกว่า กลุ่มสัตว์ที่เป็นดัชนีบ่งชี้ถึงคุณภาพ ของสิ่งแวดล้อมที่ดีคือ ตัวอ่อนของแมลงน้ำหลุ่มแมลงชีปะขาว แมลงสโตนฟลาย และแมลงหนอนปลอกน้ำ โดยพบสัตว์กลุ่มนี้มาก ในบริเวณต้นน้ำที่ได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมน้อย ในขณะที่บริเวณต้นน้ำบางบริเวณที่ได้รับผลกระทบ จากสิ่งแวดล้อมมากกว่า และบริเวณปลายน้ำที่ไหลผ่านชุมชนเมือง พบว่ามีสัตว์กลุ่มนี้น้อย แต่กลับพบตัวอ่อนของแมลงสองปีก พวกหนอนแดงเป็นจำนวนมาก (Sangpradub และคณะ 1996 และยรรยงค์ และคณะ 1997)
<<< กลับไปหน้าแรก( หน้า 1 2 3 4 5 )

[ Home ] [บทคัดย่อ ] [ ประวัติผู้วิจัย ] [ กิตติกรรมประกาศ ] [ บทนำ ] [ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ] [ ข้อเสนอแนะ ] [ ข้อมูลเพิ่มเติม ] [ My Guestbook ]