ทั้งจำนวนชนิด และความหนาแน่นของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินในแต่ละเดือนมีแนวโน้ม เช่นเดียวกับลำห้วยทั้งสองสาย คือ ฤดูฝน (เดือนกรกฏาคมของทั้งสองปี) จะมีจำนวนชนิดและความหนาแน่น ของสัตว์น้อยกว่าช่วงฤดูแล้ง และช่วงปลายฤดูแล้งปี 2538 กับต้นฤดูแล้งปี 2539 (เดือนพฤศจิกายน 2538 และมีนาคม 2539) มีความหลากชนิดของสัตว์ มากกว่าช่วงฤดูแล้ง ปลายปี 2537 และต้นฤดูแล้งปี 2538 ( เดือนธันวาคม 2537 และ เมษายน 2538 ) ชนิดของสัตว์ที่พบในแต่ละฤดูกาล มีความแตกต่างกันมากกว่า ความแตกต่างของความหนาแน่นของสัตว์ ความแตกต่าง ของชนิดและจำนวนสัตว์ในแต่ละฤดูกาล มีสาเหตุเนื่องมาจาก มีฝนตกมากในฤดูฝน ทำให้เกิดภาวะน้ำหลาก กวาดเอาสัตว์เหล่านี้ไปกับกระแสน้ำ จึงทำให้จำนวนของสัตว์เหล่านี้ลดลงมาก และกลับฟื้นตัวอีกครั้ง เมื่อเข้าสู่ฤดูแล้ง แม้จำนวนชนิดและความหนาแน่นของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน ไม่แตกต่างกันในลำธารทั้งสอง ดังผลการทดสอบข้างต้น แต่องค์ประกอบของชนิดสัตว์ไม่กระดูกสันหลังหน้าดินที่พบในแต่ละลำห้วยแตกต่างกัน คือพบสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินที่มีการกระจายในทั้งสองลำห้วยเพียง 47 ชนิด คิดเป้นร้อยละ 41 ของจำนวนชนิดสัตว์ทั้งหมดที่พบในการศึกษาครั้งนี้ ที่เหลือเป็นสัตว์ที่พบเฉพาะของแต่ละลำห้วย คือ พบเฉพาะที่ห้วยหญ้าเครือ 33 เปอร์เซ็นต์ และพบเฉพาะที่ห้วยพรมแล้ง 26 เปอร์เซ็นต์ สัตว์ที่พบว่า มีการกระจายมากในทั้งสองลำห้วย คือ แมลงชีปะขาววงศ์ Baetidae, Caenidae, Ephemeridae, Leptophlebiidae, และ Heptageniidae แมลงหนอนปลอกน้ำวงศ์ Hydropsychidae, Philopotamidae และ Leptoceridae ซึ่ง Leptoceridae นี้พบว่า ในห้วยพรมแล้งมีจำนวนมากกว่า ห้วยหญ้าเครือ นอกจากนี้ยังพบแมลงสองปีก วงศ์ Chironomidae ด้วงวงศ์ Elmidae และ Psephenidae ปู กุ้ง และหอย เป็นต้น

            4. การวิเคราะห์ชุมชนสัตว์ไม่กระดูกสันหลังหน้าดินด้วยวิธีการวิเคราะห์หลายตัวแปร (Multivariate analysis)

            ผลการจัดกลุ่มชุมชนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน ด้วย UPGMA แสดงผลเป็น dendrogram ดังภาพที่ 1ก


ภาพ เดนโดรแกรมแสดงผลการจัดกลุ่มชุมชนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินด้วย UPGMA
การแยกกลุ่มได้แยกออกเป็น 3 กลุ่ม ตามการกำหนดกลุ่มด้วย GDEF option ใน PATN ดังนี้ คือ กลุ่มที่ 1 เป็นชุมชนในฤดูฝน เดือนกรกฏาคม 2537 ที่ห้วยหญ้าเครือ (A01vii94) กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วยชุมชนในฤดูฝน เดือนกรกฏาคม ของทั้งสองลำห้วย (A01vii95 A02vii94 A02vii95) และชุมชนในเดือนธันวาคม 2537 ของห้วยหญ้าเครือ ( A01xii94) กลุ่มที่ 3 ประกอบด้วยชุมชนที่เหลือทั้งหมด ซึ่งเป็นชุมชนฤดูแล้ง (A01iv95 A01xi95 A01iii96 A02xii94 A02iv95 A02xi95 และ A02iii96) ซึ่ง แนวโน้มของการจัดกลุ่มนี้ขึ้นกับฤดูการเป็นสำคัญ สัตว์วงศ์ที่มีความสำคัญในการแยกออกกลุ่มคือ แมลงชีปะขาวเข็ฒ (วงศ์ Baetidae) แมลงสโตนฟลายเสือ (วงศ์ Perlidae) แมลงชีปะขาวหัวเหลี่ยม ( วงศ์ Leptophlebiidae) และหนอนแดง (วงศ์ Choronomidae) แมลงทั้งสี่วงศ์นี้ไม่พบในกลุ่มที่ 1 แมลงชีปะขาว เข็มและแมลงสโตนฟลายเสือ ไม่พบในฤดูฝนจึงเป็นสัตว์ที่ทำให้แยกกลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 ออกจากกัน แมลงชีปะขาวหัวเหลี่ยมและหนอนแดง พบในฤดูแล้งมากกว่าในช่วงฤดูฝน และพบในห้วยหญ้าเครือ มากกว่าในห้วยพรมแล้ง

            ผลการจัดอันดับชุมชนสัตว์ไม่กระดูกสันหลัง หน้าดินในแต่ละครั้งของการเก็บตัวอย่างด้วย SSH ได้แสดงผลดังภาพที่ 1ข


ภาพ ผลการจัดอันดับชุมชนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินด้วย SSH
โดยพบว่า การจัดอันดับเป็นไปตามจำนวนชนิด และความหนาแน่นของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน คือ ชุมชนที่มีจำนวนชนิดและความหนาแน่นต่ำสุด (ชุมชนเดือนกรกฏาคม 2537 ของห้วยหญ้าเครือ หรือ A01vii94) จะอยู่ใกล้ด้านซ้าย (ด้านลบ) ของแกนที่ 1 และด้านบน (ด้านบวก) ของแกนที่ 3 ส่วนชุมชนที่มีจำนวนชนิด และความหนาแน่นของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินสูงสุด คือ ชุมชนเดือนมีนาคม 2539 ( A01iii96 และ A02iii96) จะถูกจัดอันดับอยู่ด้านบวกของแกนที่ 1 และด้านลบของแกนที่ 3 เมื่อเขียนกรอบแบ่งชุมชนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินที่ถูกจัดอันดับนี้ ออกเป้นกลุ่ม ตามผลของการแบ่งกลุ่มด้วย UPGMA พบว่า สอดคล้องกัน ordination กลุ่มที่ 1 (ชุมชนเดือนกรกฏาคม 2537 ห้วยหญ้าเครือ A01vii94) มีจำนวนชนิดและความหนาแน่นของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินต่ำที่สุด ordination กลุ่ม 2 ประกอบด้วยชุมชนสัตว์ไม่กระดูกสันหลังหน้าดิน ในฤดูฝน (เดือนกรกฏาคม) ของทั้งสองลำห้วย และของเดือนธันวาคม 2537 ที่ห้วยหญ้าเครือ กลุ่มนี้ มีจำนวนชนิดและความหนาแน่นของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินน้อยเช่นกันดังผลการวิเคราะห์เบื้องต้น และ ordination กลุ่ม 3 มีสมาชิกที่มีจำนวนชนิดและความหนาแน่นของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งของเดือนมีนาคม 2539 ( A01iii96 และ A02iii96) ภาพที่ 1ค


ภาพ แสดงวงศ์ของสัตว์ที่มีความสัมพันธ์กับแกนอย่างมีนัยสำคัญ

แสดงวงศ์ของสัตว์ที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับแกนของ ordination สรุปได้ว่าฤดูกาล มีความสำคัญในการกำหนดชนิดและความหนาแน่นของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินในลำห้วยทั้งสองแห่งนี้ เนื่องจากมีข้อมูลคุณภาพ สิ่งแวดล้อมไม่ครบถ้วน จึงไม่สามารถหาความสัมพันธ์ของปัจจัยสิ่งแวดล้อมแต่ละปัจจัย กับกลุ่มที่ได้จาก UPGMA และแกนของ ordination เพื่อวิเคราะห์ว่า ปัจจัยใดมีความสำคัญในการกำหนดลักษณะของชุมชนของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน

            สรุปผลการวิเคราะห์ชุมชนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน โดยสถิติเชิงเดี่ยวและสถิติเชิงซ้อนได้ผลเหมือนกันคือ โครงสร้างชุมชนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินมีความผันแปร ตามดูกาลเป็นสำคัญ ปริมาณฝนในเดือนกรกฏาคม ทำให้เกิดภาวะน้ำหลาก สามารถพัดพาสัตว์เหล่านี้ไปกับกระแสน้ำ ทำให้จำนวนชนิดและความหนาแน่นของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินลดลงอย่างมาก วงชีวิตในช่วงการเป็นตัวเต็มวัย บินไปจากลำธารก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ ความหลากหลายของสัตว์ในลำห้วยลดลงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงฤดูแล้งร้อน ความแตกต่างของชนิดสัตว์ เป็นผลเนื่องมาจาก ความแตกต่างขององค์ประกอบทางกายภาพ ของลำห้วยทั้งสองที่แตกต่างกันอย่างมากดังได้กล่าวแล้วข้างต้น



wetlab logo



Wetlab Ring
Prev 5 | Previous | Next | Next 5 | Random | List |
Wetlab Ring,