การตรวจเอกสาร

            การจำแนกสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศแหล่งน้ำจืดนั้น สามารถจำแนกตามแหล่งที่อยู่อาศัยย่อยๆ ออกได้ดังนี้ (นิตยา, 2528)

1. สิ่งมีชีวิตหน้าดิน ( Benthos) ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่พักตัวบนพื้นท้องน้ำ หรือฝังตัวอยู่ในตะกอนของพื้นท้องน้ำ เช่น ปลาหน้าดิน หอย ลแตัวอ่อนของแมลง

2. พวกเกาะหรือแขวนตัวอยู่กับพืชน้ำ เช่น สาหร่าย โปรโตซัว ที่เกาะตามใบ และรากของ แหน จอก หรือสัตว์พวกหอยฝาเดียว และตัวอ่อนของแมลง

3. แพลงก์ตอน ( Plankton) ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ มักว่ายน้ำได้ไม่ดี มีทั้งแพลงก์ตอนพืช และแพลงก์ตอนสัตว์

4. พวกที่ว่ายรน้ำเป็นอิสระ (Nekton) ได้แก่ สัตว์ที่มีความสามารถในการว่ายน้ำได้ดี ได้แก่ ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และแมลงในน้ำขนาดใหญ่ เช่น ด้วงดิ่ง

            สภาพแวดล้อมของแหล่งน้ำจืด มีความแตกต่างกันโดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ ดังนี้ คือ (นิตยา, 2528)

            ก. แหล่งน้ำนิ่ง ( Standing Water หรือ Lentic) ได้แก่ บ่อ บีง หนอง สระ และทะเลสาบ
            ข. แหล่งน้ำไหล ( Running Water หรือ Lotic) ได้แก่ น้ำตก ลำธาร แม่น้ำ

            ในแหล่งน้ำไหลพบว่า มีสิ่งมีชีวิตแตกต่างจากแหล่งน้ำนิ่ง เนื่องจากความแตกต่างทางกายภาพและเคมี เช่น กระแสน้ำ ปริมาณออกซิเจน แม้ในแหล่งน้ำไหลเอง ยังมีความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตซึ่งเกิดจากความเร็วของกระแสน้ำ โดยแบ่งบริเวณ แหล่งน้ำไหลออกเป้น 2 เขต คือ

            1. เขตน้ำไหลเชี่ยว ( Rapid Zone) เป็นบริเวณที่มีความตื้น มีกระแสน้ำไหลแรง ก้นลำธารใส ไม่การสะสมของตะกอน เหมาะสำหรับการดำรงชีวิตของพวกสิ่งมีวิตหน้าดินที่เกาะติดวัตถุใต้น้ำ หรือ คืบคลานไปมาไดเสะดวก สิ่งมีชีวิตที่ลอยที่ผิวน้ำในเขตนี้ต้องเข้มแข็ง สามารถว่ายทวนกระแสน้ำได้ พวกแพลงก์ตอนจะไม่พบเลยเนื่องจากถูกกระแสน้ำพัดพาไปที่อื่น บริเวณดังกล่าว คือ บริเวณน้ำตกและบริเวณลำธาร

            2. เขตน้ำไหลเอื่อย ( Pool Zone ) เป็นบริเวณที่มีความลึกความเร็วของกระแสน้ำลดลง ทำให้มีตกตะกอนของอนุภาคต่างๆ บริเวณท้องน้ำ จึงไม่เหมาะสมกับพวกสัตว์หน้าดินที่เกาะติดหรือปีนไต่ ไปมา แต่เหมาะสำหรับพวกที่ขุดรูอยู่ และพวกที่ลอยที่ผิวน้ำทั่วไป รวมทั้งแพลงก์ตอนด้วย บริเวณดังกล่าวคือ แม่น้ำ และลำธารขนาดใหญ่

            ความสมบูรณ์ของแหล่งน้ำไหลทั่วๆไป ขึ้นกับสภาพพื้นท้องน้ำ กล่าวคือ พื้นท้องน้ำที่เป็นทรายละเอียด จะไม่เหมาะสมสำหรับการเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์หน้าดิน หรือสิ่งมีชีวิตที่เกาะติดกับวัตถุอื่นอยู่ในบริเวณนี้น้อย และถ้าพื้นเป็นหินแข็ง สัตว์ที่อาศัยอยู่ได้ จะต้องมีความสามารถต้านกระแส หรือ ยึดเกาะกับหินได้อย่างแน่นหนา สภาพพื้นท้องน้ำที่เป็นกรวด หยาบ หรือก้อนหินขนาดเล็กจะเป็นบริเวณ ที่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยมากที่สุด เนื่องจากมีพื้นที่ผิวให้ยึดเกาะได้มาก และมีโพรงให้สัตว์เข้าไปซุกซ่อนตัวได้มาก (นิตยา, 2528) ซึ่ง ชิตชล (2536) ได้กล่าวว่า ใน Substrate ที่เป็นกรวด จะมีความหลากชนิดของสัตว์ไม่มีกระดุกสันหลังหน้าดินประเภท Benthos มากที่สุด และมีการกระจายตัวสม่ำเสมอมากที่สุด ส่วนโคลน มีความหลากหลายของชนิดต่ำที่สุด Substrate ที่เป็นกรวดและหิน มีชนิดและจำนวนสัตว์คล้ายกันมากกว่าหินและโคลน และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินที่อาศัยตามผิวดิน บริเวณป่าที่มีความชื้นสูง มีความหลากหลายของชนิดสูง และมีการกระจายจำนวนในแต่ละชนิดสม่ำเสมอกว่าบริเวณป่าที่แห้ง

            สัตว์ที่อาศัยในแหล่งน้ำไหล มีการปรับตัวพิเศษเพื่อการอยู่รอดดังนี้ (สมสุข, 2528)

1. การเกาะติดแน่นกับพื้นผิวที่อาศัยอยู่ เช่น หิน ขอนไม้ ใบไม้ สัตว์ที่เกาะติดกับพื้น เช่น แมลงหนอนปลอกน้ำที่สร้างปลอกเชื่อมติดกับหินเอาไว้
2. มีโครงสร้างพิเศษที่ใช้เกาะหรือดูดติดไว้อย่างมั่นคง เช่น ตัวอ่อนของ Simulium
3. สกัดเมือกเหนียวใช้ยึดเกาะ เช่น หอย และหนอนด้วงแบน
4. มีรูปร่างเพรียว เพื่อลดความต้านทานของกระแสน้ำ พบในตัวอ่อนแมลง
5. มีรูปร่างแบนราบไปกับพื้นผิวที่เกาะซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากตัวอ่อนของแมลงชีปะขาว และ Stonefly ที่อาศัยในบริเวณน้ำไหลเชี่ยว จะมีลำตัวแบนราบกว่าชนิดที่อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำนิ่ง
6. มีนิสัยว่ายทวนน้ำอยู่เสมอ ( Positive rheotaxis ) เช่น พวกที่ลอยตามผิวน้ำ ซึ่งมีพฤติกรรมที่ไม่พบในสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่ในน้ำนิ่งเลย
7. มีนิสัยเกาะติดกับพื้นดิน หรนือซุกซ่อนตัวตามวัตถุใต้น้ำ ( Positive thigmotaxis) เป็นพฤติกรรมที่สืบเนื่องต่อกันมา สามารถทดลองได้จากการจับตัวอ่อนของแมลงในลำธาร ไปใส่ในถาดที่มีเศษวัตถุต่างๆ แมลงจะว่ายเข้าไปซุกในกองวัตถุนั้นทันที

            สัตว์เหล่านี้ อาจถูกพัดพาไปกับกระแสน้ำ เรียก ลักษณะการลอยตัวของสิ่งมีชีวิตไปกับกระแสน้ำว่า " Drift " (มงคล ,2536) Welch และ Hickey (1992) รายงานว่า ระดับมวลชีวภาพ (Biomass) ของ Substrata ที่เป็นพืช จะมีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นของสัตว์ไม่กระดูกสันหลังหน้าดิน ที่เป็นผู้แทะเล็ม

            Bass (1992) รายงานว่า สภาพทางกายภาพและเคมี คือ อุณหภมิน้ำ ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ และ pH จะมีผลต่อชนิดและการกระจายของสัตว์ไม่กระดูกสันหลังหน้าดิน

            Haag และ Thorp (1992) รายงานว่าขนาดของ Substrate มีอิทธิพลต่อจำนวนและชนิดของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินโดยก้อนหินขนาดเล็กๆ (Cobble) จะมีจำนวนสัตว์มากกว่าก้อนกรวด และทรายตามลำดับ แต่ Mayfly จะไม่มีความสัมพันธ์กับ Substrate

            ในประเทศไทยได้มีรายงานการศึกษาสัตว์ไม่กระดูกสันหลังหน้าดินในลำธารบนดอยสุเทพ โดย สาครและคณะ (2534) พบ ตัวอ่อนของแมลงปอ และ Megaloptera 1 วงศ์ มงคล (2533) พบแมลงชีปะขาว 6 วงศ์ 7 สกุล ที่หมู่บ้านห้วยแก้ว และน้ำตกผาเงิบ ชิตชล (2536) ศึกษาสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินในบางท้องที่ของสวนพฤษศาสตร์ภาคเหนือ (แม่สา) จังหวัดเชียงใหม่ พบสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน 14 อันดับ 73 วงศ์ 119 ชนิด เป็น Coleoptera (ด้วงหรือ แมลงปีกแข็ง) มากที่สุด รองลงมาเป็น Diptera (แมลงสองปีก) และ Hemiptera (มวน) ตามลำดับ อิสระ (2537) ศึกษาสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินที่ห้วยพรมแล้ง อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ พบ 4 อันดับ 12 วงศ์ 17 ชนิด เป็นตัวอ่อนของแมลงชีปะขาว ( O.Ephemeroptera ) มากที่สุด รองลงมา เป็นแมลงสองปีก ( O.Diptera ) และแมลงหนอนปลอกน้ำ ( O.Trichoptera) ตามลำดับ รัชฎาภรณ์ และเสาวคนธ์ (2535) ศึกษาชนิดและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน ที่พบในแม่น้ำพอง แม่น้ำชี และแม่น้ำมูล หลังวิกฤติการณ์น้ำเสีย พศ.2535 พบ Chironomidae มากที่สุด และรัตนา (2537) ศึกษาชนิดและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินในลำน้ำพอง พบ 4 ไฟลัม 10 อันดับ 20 วงศ์ 34 ชนิด

xcounter