อุปกรณ์และวิธีการ

สถานที่เก็บตัวอย่าง

            ลำธารน้ำตกวังกวาง ตั้งอยู่ในบริเวณละติจูด 1127 พื้นล่างเป็น Bedrock และมีก้อนหินขนาดเล็กปนอยู่มีมอส (ชนิดที่ 1) ปกคลุม สามารถแบ่งพื้นที่ศึกษาเป็น 2 บริเวณ ตามความเร็วของกระแสน้ำ คือ บริเวณที่มีกระแสไหลเร็วมาก เรียกว่า บริเวณ riffle และบริเวณที่มีกระแสน้ำไหลช้า เรียกว่า run ลำธารมีความกว้างประมาณ 2 เมตร ความลึกประมาณ 0.3 เมตร น้ำใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ริมตลิ่งปกคลุมด้วย มอส ลิเวอร์เวอร์ส มีไม้ยืนต้นผสมไม้พุ่ม ปกคลุมประมาณ 50%

            น้ำตกเพ็ญพบใหม่ เกิดจากลำธารย่อยสองสาย ไหลมาบรรจบกัน ลำธารของน้ำตกเพ็ญพบใหม่ แบ่งเป็น 2 ตอนคือ ลำธารตอนบน ได้แก่ น้ำตกเพ็ญพบใหม่ตอนบน และลำธารตอนล่าง ได้แก่ น้ำตกเพ็ญพบใหม่ตอนล่าง

            น้ำตกเพ็ญพบใหม่ตอนบน ตั้งอยู่บริเวณละติจูด 1158 พื้นล่างเป็น bedrock มีก้อนหินขนาดเล็กและทรายปนอยู่ด้วยเล็กน้อย มีมอส (ชนิดที่ 2 ) ปกคลุม กระแสน้ำไหลช้า (บริเวณ run) ลำธารมีความกว้างประมาณ 3 เมตร ความลึกประมาณ 0.4 เมตร น้ำใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ริมตลิ่งมีมอส ลิเวอร์เวอร์ส ปกคลุม มีไม้ยืนต้นผสมไม้พุ่มปกคลุมประมาณ 5%

           ลำธารน้ำตกเพ็ญพบใหม่ตอนล่าง ตั้งอยู่บริเวณละติจูด 1158 พื้นล่างเป็นก้อนหินขนาดใหญ่ (Rock) และ Bolder วางทับบน Bedrock (แผ่นหินขนาดใหญ่) มี Cobble และ Gravel เล็กน้อย มีมอส (ชนิดที่ 2 ) ปกคลุมบางบริเวณ กระแสน้ำบริเวณพื้นที่ส่วนใหญ่เป็น run ลำธารมีความกว้างประมาณ 3 เมตร มีความลึกประมาณ 0.4 เมตร น้ำใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ริมตลิ่งปกคลุมด้วยมอส ไม้พุ่มขนาดเล็กและไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ขึ้นอยู่ สองฟากตลิ่ง ประมาณ 20% บนก้อนหินจะปกคลุมด้วยไลเคน

หมายเหตุ แบ่งขนาด Substrate ตามเกณฑ์ของ Relofs, 1944 ดังนี้
Bedrock แผ่นหินขนาดใหญ่
Boulders ก้อนหินขนาดใหญ่กว่า 25 เซนติเมตร
Cobbles ก้อนหินขนาดเล็กกว่า 25 เซนติเมตรแต่ไม่น้อยกว่า 6 เซนติเมตร
Gravel ก้อนกรวดที่มีขนาดประมาณ 0.2-6 เซนติเมตร
การเก็บตัวอย่าง
            ศึกษาสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน โดยการเก็บตัวอย่างสัตว์ และพืชที่ปกคลุม Substrate โดยใช้ Surber sampler ขนาด 30x30 ซม. mesh size ขนาด 1 มม. ตามลำธารของน้ำตก 2 แห่งบนอุทยานแห่งชาติภูกระดึง คือ น้ำตกเพ็ญพบใหม่ และน้ำตกวังกวาง ในวันที่ 23 ตุลาคม 2538 ซึ่งเป็นปลายฤดูฝน อากาศหนาว และมีความชื้นอากาศค่อนข้างสูง



ลักษณะของ Surber sampler

            เก็บตัวอย่างสัตว์ไม่กระดูกสันหลังหน้าดิน ในลำธารข้างต้น ลำธารละ 6 ซ้ำ โดยใช้วิธีสุ่ม ซึ่งในการเก็บ จะเก็บทวนกระแสน้ำเพื่อไม่ให้รบกวนที่อยู่ของสัตว์ จากนั้น แยกสัตว์จากมอสที่ปกคลุม Substrate กรวด หิน และเศษไม้ต่างๆ ที่เป็นส่วนประกอบของ Substrate ดองในขวดที่บรรจุแอลกอฮอล์ 70% ทันที จากนั้น นำตัวอย่างสัตว์ที่ดองด้วยแอลกฮอล์มาที่ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มาจัดจำแนก และตรวจเอกลักษณ์ต่อไป ในห้องปฏิบัติการ ส่วนพืชนำมาอบแห้ง จากนั้นนำมาชั่งน้ำหนัก

            สำหรับคุณภาพน้ำ วัดค่า DO, pH, Conductivity อุณหภูมิ และความเร็วกระแสน้ำ ด้วยเครื่องมือวัดในภาคสนาม

การวิเคราะห์ตัวอย่างสัตว์

            จัดจำแนกและตรวจเอกลักษณ์ตัวอย่างสัตว์ โดยการตรวจหาลำดับทางอนุกรมวิธานที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ โดยใช้ กล้องจุลทรรศน์สเตอริโอ เอกสารที่ใช้ประกอบการศึกษามีดังนี้

1. Fitter และ Manuel (1986). Freshwater Life.
2. Morse และคณะ (1982). Aquatic Insects of China Useful for Monitoring Water Quality.
3. Lehmkuhi (1979). Aquatic Insects.
4. Merritt และ Cummins (1984). An Introduction to the Aquatic Insects of North America.
5. Abdul Rahim Bin Ismail (1992). Taxonomic and Biological Studies on Caddis flies (Trichoptera : Insecta) from Peninsularl Malaysia.
การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ

            หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย และวาเรียนท์ ของข้อมูลจำนวนชนิด (Species richness) และจำนวนตัว ถ้าวาเรียนท์มีค่ามากกว่าค่าเฉลี่ย แปลงข้อมูลให้เป็น log (x+1) ก่อนการเปรียบเทียบจำนวนตัว และจำนวนชนิดของสัตว์ที่พบในลำธารทั้งสามของน้ำตกที่เก็บ โดยใช้ t-test และหาความสัมพันธ์ของน้ำหนักแห้งของมอสกับจำนวนชนิด และจำนวนตัวที่พบ โดยใช้ Simple Regression ใน Program Statview ของ Macintoch กรณีหาความสัมพันธ์ระหว่างสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง 2 ชนิด ใช้ Spearman Correlation จากนั้นหาค่า Index of dispersion ( I ) ของประชากรสัตว์ไม่กระดูกสันหลังหน้าดิน จากสูตร

I = ค่าความแปรปรวน / ค่าเฉลี่ยของประชากร



รูปสถานที่ตั้งของน้ำตกวังกวาง น้ำตกเพ็ญพบใหม่ บริเวณอุทยานแห่งชาติภูกระดึง

xcounter