ผลการวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพและเคมีบางประการของน้ำ พบว่า pH อยู่ในช่วง 7.3-8.9 อุณหภูมิน้ำประมาณ 21 องศาเซลเซียส ค่า Conductivity อยู่ในช่วง 9.49-11.72 ค่า DO ประมาณ 88% ซึ่งค่าต่างๆ แสดงในตารางที่ 1 ตารางที่ 1 คุณสมบัติทงเคมี และกายภาพบางประการของน้ำในลำธารน้ำตกวังกวาง น้ำตกเพ็ญพบใหม่ตอนบนและตอนล่าง
การสำรวจ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินในลำธารน้ำตก 3 แห่ง ของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง โดยเก็บตัวอย่างด้วย Surber sampler เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2538 พบ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน ส่วนมากเป็นพวกแมลงน้ำจำนวน 8 อันดับ 38 วงศ์ 56 ชนิด และพบไส้เดือน 1 ชนิด (ตารางที่ 2 ) ในบรรดาแมลงน้ำ พบ O.Trichoptera มากที่สุด ซึ่งพบมากกว่า 50% ของจำนวนสัตว์ทั้งหมด ส่วนรองลงมานั้น พบต่างกันในแต่ละน้ำตก โดยที่น้ำตกวังกวาง บริเวณ run พบ O.Diptera และ O.Lepidoptera (รูปที่ 3 ) บริเวณ riffle พบ O. Coleoptera และ O.Diptera (รูปที่ 4) ส่วนในลำธารน้ำตกเพ็ญพบใหม่ตอนบน พบ O.Diptera และ O. Epheneroptera (รูปที่ 5 ) และลำธารน้ำตกเพ็ญพบใหม่ตอนล่าง พบ O.Diptera ในอันดับรองลงมา (รูปที่ 6 ) ส่วน Order อื่นๆ พบเพียงเล็กน้อย ลำธาน้ำตกวังกวาง พบ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน 8 อันดับ 27 วงศ์ 38 ชนิด และไส้เดือน 1 ชนิด (ตารางที่ 3 ) พบว่า บริเวณ riffle มีความหลากหลายมากกว่าบริเวณ run โดยพบแมลงน้ำ 33 ชนิดและ 30 ชนิด ตามลำดับ ( ตารางที่ 3 และ 4 ) ชนิดที่พบมากที่สุด คือ ตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน้ำ Hydroptila sp. พบแมลงน้ำ 7 อันดับ 22 วงศ์ 25 ชนิด ในลำธารของน้ำตกเพ็ญพบใหม่ตอนบน (ตารางที่ 5 ) เป็นตัวอ่อนของแมลงหนอนปลอกน้ำ Molanotrichia sp. มากที่สุด ส่วนลำธารของน้ำตกเพ็ญพบใหม่ตอนล่างพบเพียง 5 อันดับ 6 วงศ์ 6 ชนิด เป็นตัวอ่อนของแมลงหนอนปลอกน้ำ Goera sp. มากที่สุด (ตารางที่ 6 ) 3. เปรียบเทียบชนิดและจำนวน สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินที่พบในแต่ละลำธารของน้ำตก เปรียบเทียบจำนวนตัวของ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินในลำธารทั้งสามพบว่า ลำธารน้ำตกวังกวาง มีมากกว่า น้ำตกเพ็ญพบใหม่ตอนบน และน้ำตกเพ็ญพบใหม่ตอนล่าง ตามลำดับ (ONEWAY ANOVA F=7.89, P<0.01) จากการเปรียบเทียบชนิดของ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินในลำธารทั้งสาม พบว่า ลำธารน้ำตกวังกวาง มีมากกว่าน้ำตกเพ็ญพบใหม่ตอนบน และน้ำตกเพ็ญพบใหม่ตอนล่าง ตามลำดับ (ONEWAY ANOVA F=19.32, P<0.01) ส่วนชนิดและจำนวนตัวทั้งหมดของ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินบริเวณ run และ riffle ของลำธารน้ำตกวังกวาง พบว่า ทั้งชนิดและจำนวน ไม่แตกต่างกัน (t-test, P>0.05) และยังพบว่า จำนวน สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินบริเวณ run ของลำธารน้ำตกวังกวาง มีมากว่าน้ำตกเพ็ญพบใหม่ตอนบน และน้ำตกเพ็ญพบใหม่ตอนล่าง ตามลำดับ ( ONEWAY ANOVA F=8.031, P < 0.05) ส่วนจำนวนชนิด สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินบริเวณ run ของลำธารน้ำตกวังกวาง มีมากกว่าน้ตกเพ็ญพบใหม่ตอนบน และน้ำตกเพ็ญพบใหม่ตอนล่าง ตามลำดับ (ONEWAY ANOVA F=16.36, P <0.05) นอกจากนี้ยังพบว่า จำนวนตัวและชนิดของ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินที่พบในลำธารน้ำตกเพ็ญพบใหม่ตอนบน พบมากกว่าน้ำตกเพ็ญพบใหม่ตอนล่าง (t-test, P< 0.05) ตามลำดับ 4. การกระจายของประชากร สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน จาก Index of dispersion ( I ) หรืออัตราส่วนระหว่าง ความแปรปรวน กับค่าเฉลี่ยของสัตว์ที่ศึกษา (Elliot, 1983) พบว่า I มีค่ามากกว่า 1 แสดงว่า ประชากร สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินในลำธารน้ำตกวังกวาง น้ำตกเพ็ญพบใหม่ตอนบน และน้ำตกเพ็ญพบใหม่ตอนล่าง อุทยานแห่งชาติภูกระดึง มีการกระจายแบบรวมกลุ่ม (Clumping distribution ) |